ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทรงพระเจริญ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
                  ครอบครัวปั้นแก้ว

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ

บรูนเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา บรูนเนอร์ เรียกว่า เป็นวิธีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Approach) หรือนักการศึกษาบางท่านนิยมเรียกว่าการเรียนรู้ด้วยการสอบสืบ (Inquiry learning) แต่นักการศึกษาบางท่านได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้โดยการค้นพบและการเรียนรู้แบบการสอบสืบแตกต่างกันคือ การเรียนรู้โดยการค้นพบครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะให้นักเรียนเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของบทเรียนพร้อมด้วยคำถาม โดยตั้งความคาดหวังว่านักเรียนจะเป็นผู้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ส่วนการเรียนรู้ด้วยการสอบสืบมีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถชี้ว่าปัญหาคืออะไร จากข้อมูลที่มีอยู่และหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรโดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่
ที่มา :  สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.


การเรียนรู้โดยการค้นพบ
                Sullivan (1994: 228-230) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการค้นพบไว้ว่า  การเรียนรู้โดยวิธีนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนตามความสนใจ  ซึ่งได้สนองความพอใจในความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน  โดยครูผู้สอนจะช่วยผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้
1)   กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น  และให้ผู้เรียนมีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวน้อยที่สุด
2)   ช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง  หรือแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม โดยครูเป็นผู้อธิบายให้ผู้เรียนฟัง
3)    นำการสาธิตหรือรูปภาพมาเสนอแก่ผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนที่ยากๆ
4)     มีความยดหยุ่นในการเรียนรู้  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ยังไม่สามารถค้นพบวิธีการหรือคำตอบที่ถูกต้องได้คิดทบทวนใหม่อีกครั้ง  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เรียนพบคำตอบหรือวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องได้
5)    ทบทวนความคิดรวบยอดที่สำคัญๆ  ให้กับผู้เรียนอาจทำได้โดยการนำเรื่องที่ยากๆมาอภิปรายร่วมกัน




ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ศาสตราจารย์บรูเนอร์ (Bruner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญานิยม ชาวอเมริกัน ซึ่งได้ใช้หลักพัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์มาใช้ในการสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์ได้ให้ชื่อการเรียนรู้ของท่านว่า “Discovery Approach” หรือการเรียนรู้โดยการค้นพบ  บรูเนอร์สนใจในกระบวนการเรียนรู้และการศึกษามาก  เขาได้เสนอแนะหลักการที่จะนำไปใช้ในการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยเขียนหนังสือเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาและทฤษฎีการสอนที่ครูและนักศึกษาจะนำไปเป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนและการสร้างหลักสูตร (สุรางค์  โค้วตระกูล. 2541:31 ; อ้างอิงจาก Bruner. 1960, 1966, 1971. The Relevance of Education) บรูเนอร์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา  บรูเนอร์เรียกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Approach) หรือนักการศึกษาบางท่านนิยมเรียกว่า การเรียนรู้ด้วยการสืบสวนสอบสวน (Inquiry Learning) แต่นักการศึกษาบางท่านได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้โดยการค้นพบและการเรียนรู้แบบการสอบสวนสืบสวน  แตกต่างกันคือการเรียนรู้โดยการค้นพบ  ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะให้นักเรียนเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของบทเรียนพร้อมด้วยคำถาม  โดยตั้งความคาดหวังว่านักเรียนจะเป็นผู้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  ส่วนการเรียนรู้แบบการสืบสวนสอบสวน  มีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถชี้ว่าปัญหาคืออะไร  และหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร  โดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Mh6k6wwqsKk?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/Mh6k6wwqsKk?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

  • (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด(Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism) หรือ เรียกชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่ สร้างสรรความรู้นิยม หรือสรรสร้างความรู้นิยม หรือ การสร้างความรู้ (โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้, 2544)
  • ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  หรือบางคนเรียกว่า  ทฤษฎี Constructivist  เป็นทั้งปรัชญาและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรู้และการรู้ซึ่งมีพื้นฐานมากจากปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาที่หลากหลาย  เช่น ปรัชญาการศึกษาของ  John  Dewey  ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ  Piaget  ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และวัฒนธรรมของ  Bruner  ทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคมของ Vygotsky  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel  และได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิทยากลุ่ม Gestalt  (Gestalt  psychologists) เป็นต้น (Woolfolk. 1995 : 275  อ้างถึงใน  สุวิมล  ชินชูศักดิ์, 2547 : 14)  โดยทฤษฎีที่ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎี Constructivism  คือ  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget  และทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคมของ Vygotsky 
  • ทฤษฎี Constructivism  เกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับความเชื่อเดิมในเรื่องความรู้และการได้มาซึ่งความรู้ของนักปรัชญากลุ่ม Constructivist  ที่ได้หันมาทบทวนความเชื่อที่เกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ (Knowledge  Theory)  จากเดิมที่เชื่อว่า  ความรู้คือแหล่งสะสมของข้อเท็จจริงและความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ มาประกอบกันเป็นเนื้อหาของศาสตร์ต่าง ๆ ความรู้มาจากการค้นพบความจริงหรือสิ่งที่มีอยู่แล้วจากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส  มาเสนอแนวคิดใหม่ว่า  ความรู้ไม่ใช่ความจริงแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดในช่วงมีพยานหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่า  หรือให้คำอธิบายในประเด็นที่ความรู้เดิมให้ความกระจ่างได้ (วรรณจรีย์  มังสิงห์, 2541  อ้างถึงใน สุวิมล  ชินชูศักดิ์, 2547)


วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูต้นแบบ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบร่วมมือและวิจัยในชั้นเรียน
การจัดทักษะการเรียนรู้
                 โครงงาน
                 เรียนปนเล่น
                 นิทานคณิตศาสตร์ โครงงานและวัฏจักรการเรียนรู้
                 ห้องเรียนแบบพึ่งพา
                 การสอนแบบร่วมมือ
                 การเรียนรู้จากสภาพจริง
                 นวัตกรรมการเรียนรู้
                 การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้นแบบ ตามพรบ.การศึกษา ๒๕๔๒

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้นแบบ ตามพรบ.การศึกษา ๒๕๔๒
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตาม พรบ.๔๒

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
การจัดการเรียนรู้ ครูต้นแบบ ศิลปะ