ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Mh6k6wwqsKk?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/Mh6k6wwqsKk?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

  • (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด(Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism) หรือ เรียกชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่ สร้างสรรความรู้นิยม หรือสรรสร้างความรู้นิยม หรือ การสร้างความรู้ (โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้, 2544)
  • ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  หรือบางคนเรียกว่า  ทฤษฎี Constructivist  เป็นทั้งปรัชญาและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรู้และการรู้ซึ่งมีพื้นฐานมากจากปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาที่หลากหลาย  เช่น ปรัชญาการศึกษาของ  John  Dewey  ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ  Piaget  ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และวัฒนธรรมของ  Bruner  ทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคมของ Vygotsky  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel  และได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิทยากลุ่ม Gestalt  (Gestalt  psychologists) เป็นต้น (Woolfolk. 1995 : 275  อ้างถึงใน  สุวิมล  ชินชูศักดิ์, 2547 : 14)  โดยทฤษฎีที่ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎี Constructivism  คือ  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget  และทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคมของ Vygotsky 
  • ทฤษฎี Constructivism  เกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับความเชื่อเดิมในเรื่องความรู้และการได้มาซึ่งความรู้ของนักปรัชญากลุ่ม Constructivist  ที่ได้หันมาทบทวนความเชื่อที่เกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ (Knowledge  Theory)  จากเดิมที่เชื่อว่า  ความรู้คือแหล่งสะสมของข้อเท็จจริงและความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ มาประกอบกันเป็นเนื้อหาของศาสตร์ต่าง ๆ ความรู้มาจากการค้นพบความจริงหรือสิ่งที่มีอยู่แล้วจากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส  มาเสนอแนวคิดใหม่ว่า  ความรู้ไม่ใช่ความจริงแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดในช่วงมีพยานหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่า  หรือให้คำอธิบายในประเด็นที่ความรู้เดิมให้ความกระจ่างได้ (วรรณจรีย์  มังสิงห์, 2541  อ้างถึงใน สุวิมล  ชินชูศักดิ์, 2547)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น