ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ

บรูนเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา บรูนเนอร์ เรียกว่า เป็นวิธีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Approach) หรือนักการศึกษาบางท่านนิยมเรียกว่าการเรียนรู้ด้วยการสอบสืบ (Inquiry learning) แต่นักการศึกษาบางท่านได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้โดยการค้นพบและการเรียนรู้แบบการสอบสืบแตกต่างกันคือ การเรียนรู้โดยการค้นพบครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะให้นักเรียนเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของบทเรียนพร้อมด้วยคำถาม โดยตั้งความคาดหวังว่านักเรียนจะเป็นผู้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ส่วนการเรียนรู้ด้วยการสอบสืบมีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถชี้ว่าปัญหาคืออะไร จากข้อมูลที่มีอยู่และหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรโดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่
ที่มา :  สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.


การเรียนรู้โดยการค้นพบ
                Sullivan (1994: 228-230) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการค้นพบไว้ว่า  การเรียนรู้โดยวิธีนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนตามความสนใจ  ซึ่งได้สนองความพอใจในความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน  โดยครูผู้สอนจะช่วยผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้
1)   กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น  และให้ผู้เรียนมีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวน้อยที่สุด
2)   ช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง  หรือแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม โดยครูเป็นผู้อธิบายให้ผู้เรียนฟัง
3)    นำการสาธิตหรือรูปภาพมาเสนอแก่ผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนที่ยากๆ
4)     มีความยดหยุ่นในการเรียนรู้  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ยังไม่สามารถค้นพบวิธีการหรือคำตอบที่ถูกต้องได้คิดทบทวนใหม่อีกครั้ง  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เรียนพบคำตอบหรือวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องได้
5)    ทบทวนความคิดรวบยอดที่สำคัญๆ  ให้กับผู้เรียนอาจทำได้โดยการนำเรื่องที่ยากๆมาอภิปรายร่วมกัน




ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ศาสตราจารย์บรูเนอร์ (Bruner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญานิยม ชาวอเมริกัน ซึ่งได้ใช้หลักพัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์มาใช้ในการสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์ได้ให้ชื่อการเรียนรู้ของท่านว่า “Discovery Approach” หรือการเรียนรู้โดยการค้นพบ  บรูเนอร์สนใจในกระบวนการเรียนรู้และการศึกษามาก  เขาได้เสนอแนะหลักการที่จะนำไปใช้ในการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยเขียนหนังสือเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาและทฤษฎีการสอนที่ครูและนักศึกษาจะนำไปเป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนและการสร้างหลักสูตร (สุรางค์  โค้วตระกูล. 2541:31 ; อ้างอิงจาก Bruner. 1960, 1966, 1971. The Relevance of Education) บรูเนอร์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา  บรูเนอร์เรียกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Approach) หรือนักการศึกษาบางท่านนิยมเรียกว่า การเรียนรู้ด้วยการสืบสวนสอบสวน (Inquiry Learning) แต่นักการศึกษาบางท่านได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้โดยการค้นพบและการเรียนรู้แบบการสอบสวนสืบสวน  แตกต่างกันคือการเรียนรู้โดยการค้นพบ  ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะให้นักเรียนเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของบทเรียนพร้อมด้วยคำถาม  โดยตั้งความคาดหวังว่านักเรียนจะเป็นผู้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  ส่วนการเรียนรู้แบบการสืบสวนสอบสวน  มีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถชี้ว่าปัญหาคืออะไร  และหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร  โดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Mh6k6wwqsKk?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/Mh6k6wwqsKk?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

  • (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด(Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism) หรือ เรียกชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่ สร้างสรรความรู้นิยม หรือสรรสร้างความรู้นิยม หรือ การสร้างความรู้ (โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้, 2544)
  • ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  หรือบางคนเรียกว่า  ทฤษฎี Constructivist  เป็นทั้งปรัชญาและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรู้และการรู้ซึ่งมีพื้นฐานมากจากปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาที่หลากหลาย  เช่น ปรัชญาการศึกษาของ  John  Dewey  ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ  Piaget  ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และวัฒนธรรมของ  Bruner  ทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคมของ Vygotsky  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel  และได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิทยากลุ่ม Gestalt  (Gestalt  psychologists) เป็นต้น (Woolfolk. 1995 : 275  อ้างถึงใน  สุวิมล  ชินชูศักดิ์, 2547 : 14)  โดยทฤษฎีที่ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎี Constructivism  คือ  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget  และทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคมของ Vygotsky 
  • ทฤษฎี Constructivism  เกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับความเชื่อเดิมในเรื่องความรู้และการได้มาซึ่งความรู้ของนักปรัชญากลุ่ม Constructivist  ที่ได้หันมาทบทวนความเชื่อที่เกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ (Knowledge  Theory)  จากเดิมที่เชื่อว่า  ความรู้คือแหล่งสะสมของข้อเท็จจริงและความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ มาประกอบกันเป็นเนื้อหาของศาสตร์ต่าง ๆ ความรู้มาจากการค้นพบความจริงหรือสิ่งที่มีอยู่แล้วจากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส  มาเสนอแนวคิดใหม่ว่า  ความรู้ไม่ใช่ความจริงแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดในช่วงมีพยานหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่า  หรือให้คำอธิบายในประเด็นที่ความรู้เดิมให้ความกระจ่างได้ (วรรณจรีย์  มังสิงห์, 2541  อ้างถึงใน สุวิมล  ชินชูศักดิ์, 2547)